การโค้ชคืออะไร และสำคัญกับหัวหน้างานอย่างไร

การโค้ช คือ อะไร และสำคัญกับหัวหน้างานอย่างไร

 

     เราคงเคยได้ยินคำว่าโค้ชอยู่บ่อยครั้ง เช่น โค้ชนักกีฬา โค้ชการเงิน ไลฟ์โค้ช (โค้ชชีวิต) จริงๆ แล้วการโค้ชคืออะไร และสำคัญอย่างไร 
 
 
ความหมายของการโค้ช
     การโค้ช คือ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ช (Partnering)โดยโค้ชจะใช้ทักษะการฟัง การจับประเด็น สะท้อนสิ่งที่ได้ยิน และตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้รับการโค้ชเกิดการตระหนักรู้ในตนเองและได้รับคำตอบในเป้าหมายที่ตนเองต้องการ (Goal) ทำให้ผู้รับการโค้ชเกิดความมุ่งมั่นและอยากลงมือทำตามคำตอบที่ได้จากการโค้ช (Commitment) ส่งผลให้ผู้รับการโค้ชเห็นศักยภาพที่มีมากขึ้น เชื่อมั่นต่อตนเอง เชื่อมั่นต่อเป้าหมายและวิธีการของตนเองมากขึ้น
 
ความสำคัญของการโค้ชกับบทบาทหัวหน้างาน
     บ่อยครั้งที่หัวหน้างานอยากให้ทีมงานเก่งขึ้น คิดและตัดสินใจด้วยตนเองได้มากขึ้น และอยากบริหารเวลาได้ดีขึ้น การโค้ชจะเป็นการฝึกให้ทีมงานมีทักษะการคิดได้ด้วยตนเอง และเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง กล้าคิดและกล้าตัดสินใจมากขึ้น รวมถึงในแง่ระยะยาว เมื่อลูกน้องคิดเองได้มากขึ้น หัวหน้าจะมีเวลาทำในสิ่งที่สำคัญ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารงาน เพิ่มขึ้น แทนที่จะหมดเวลาไปกับการให้คำแนะนำและช่วยแก้ปัญหาค่ะ
 
หัวหน้างานสามารถนำการโค้ชไปใช้ในกรณีใดบ้าง
     หัวหน้าสามารถนำทักษะการโค้ชไปใช้ เพื่อพัฒนาทีมงานในเป้าหมายต่างๆ เช่น
  • คิดแก้ปัญหาเองได้ ไม่ต้องรอคำสั่งหัวหน้า
  • ฝึกให้ลูกน้องมีความคิดสร้างสรรค์ และวางแผนได้เอง
  • เสริมสร้างความมั่นใจในการทำงาน/ทำโปรเจคใหม่ๆ
  • ให้ฟีดแบค เพื่อการพัฒนา
 
เมื่อไรที่ไม่ควรใช้การโค้ช
⦁ ลูกน้องยังไม่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในเรื่องที่จะโค้ช ควรใช้การสอนงาน/การแนะนำ
⦁ ลูกน้องอยู่ในสภาวะเครียดมาก เศร้า แนะนำให้เริ่มจากการรับฟังก่อน เพื่อให้เขาได้ระบายก่อน แล้วจึงค่อยใช้การโค้ช
 
แล้วจะเริ่มต้นโค้ชทีมงานได้อย่างไร
     เริ่มต้นการโค้ชง่ายๆ ด้วยการฟังที่มากขึ้น และถามคำถามที่สร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และลดการบอกหรือสั่งลงค่ะ เช่น ลูกน้องมาปรึกษาว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี เดิมหัวหน้าจะบอกวิธีแก้ปัญหาหรือสั่ง ให้เปลี่ยนเป็น ถาม ลูกน้องว่าจากประสบการณ์ที่เคยเจอมา คิดว่าปัญหานี้น่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หรือ ที่ผ่านมา เราจัดการปัญหานี้อย่างไรบ้าง หรือ คิดว่ามีแนวทางจัดการปัญหานี้อย่างไรบ้าง และที่สำคัญ คือ ฝึกที่จะรอคำตอบ โดยเชื่อว่าลูกน้องมีความสามารถและไม่กดดันในการถามค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ชวนตอบคำถาม 
3 ข้อ เพื่อสำรวจว่าการโค้ชสำคัญกับท่านอย่างไรค่ะ
  1. ที่ผ่านมา ท่านใช้การโค้ชทีมงานมากน้อยแค่ไหน
  2. จากการโค้ชทีมงานที่ผ่านมา ส่งผลต่อศักยภาพของทีมงานอย่างไรบ้าง
  3. หากท่านโค้ชทีมงานมากขึ้น จะส่งผลต่อการทำงานและชีวิตท่านอย่างไร และจะเริ่มต้นก้าวแรกของการโค้ชทีมงานได้อย่างไร


     ในบทความถัดๆ ไป เราจะลงลึกเกี่ยวกับการโค้ชมากขึ้นค่ะ นอกจากนี้หัวหน้าก็ยังมีบทบาทอื่นๆ นอกจากการโค้ชด้วยนะคะ ไว้จะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีนะคะ
     ขอบคุณสำหรับการอ่านจนจบบทความนี้ค่ะ ขอให้ทุกท่านได้เป็นหัวหน้าที่ดีในแบบฉบับของตนเองและมีความสุขกับการทำงานและพัฒนาทีมงานนะคะ


อ.ก้อย

 
หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง หลักสูตร ทักษะการโค้ชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance coach and trainer)

 

E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)


  • การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วย PERMA model
    การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ในการทำงานชีวิตของเราคงมีทั้งสุขและทุกข์ปนกัน แล้วจะทำอย่างไรให้เรายังคงรักษาใจตนเองให้มีแรงบันดาล หรือ Passion ในการทำงาน วันนี้ อ.ก้อยมีคำตอบมาให้ค...

  • หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS model
    หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS Model หัวหน้างานนอกจากมีหน้าที่ทำงานส่วนของตนเองแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารทีมงานให้งานของทีมสำเร็จลุล่วงด้วยดี ในการบริหารทีมงาน หัว...

  • 14 เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ.jpg
    เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากให้หัวหน้าประทับใจในผลงานและสนับสนุนท่าน หรือหากท่านอยากให้เพื่อนร่วมงานยอมรับในความสามารถและช่วยเหลือสนับสนุนท่าน หรือท่...

  • เทคนิคการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
    7 เทคนิค Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วง Work From Home หรือช่วงทำงานที่บ้าน เรามีเวลามากขึ้นจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง หากเราจัดสรรเวลาหรือสิ่งแวดล้อมได้ดีจะช่วยให้...

  • ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ
    ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ หากท่านรู้สึกว่าชีวิตมีหลายอย่างที่ต้องรับผิดชอบ ไม่รู้ว่าจะจัดสรรอย่างไรดี หรือรู้สึกว่ายังจัดสรรชีวิตได้ไม่ดี อยากให้เวลากับสุขภาพ ครอบครัว ...

  • สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
    สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ (Leadership competency) ในทุกองค์กร/หน่วยงานล้วนแล้วแต่มีผู้นำ ผู้นำโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ ผู้นำด้วยตำ แหน่ง กับผู้นำที่ไม่ได้มีตำแหน่ง แต่บุคคลนั...

  • คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่
    คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่เมื่อไม่นานมานี้ ก้อยได้ทบทวนชีวิตตนเองที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ เราเป็นลูกน้อง พอทำงานมาสักระยะก็ขึ้นเป็นหัวหน้า และทบทวนถึงห...

  • ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน
    ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน การที่คนเรามีพฤติกรรมแสดงออกที่ต่างกัน มีความสำเร็จในชีวิตที่ต่างกันล้วนมาจากทัศนคติที่ต่างกัน เช่น ถ้าเรามีทัศนคติว่าการได้ทำงานที่ไม่เคยทำ งานใหม่ๆ ค...

  • 5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success)
    5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success) ในการที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องๆ หนึ่ง เรามักตั้งเป้าหมายที่เราอยากได้ แล้วลงมือทำ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้นๆ บางครั...

  • การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
    การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Time Management) เวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีคุณค่ามากที่สุด ในแต่ละวันเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แล้วเราจะบริหารเวลาให้มีประสิทธิภ...

  • การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ
    การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เป็นยุคที่เราเชื่อมต่อถึงผู้อื่นได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และแต่ละวันก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย จนดูเหมือนว่าเวลา 24 ชั่วโมงจะไม่พอสำหรับเ...
Visitors: 72,510