การตระหนักรู้ในตนเอง และผู้อื่น ผ่านบุคลิกภาพ-จุดแข็ง
การตระหนักรู้ในตนเอง และผู้อื่น ด้วยการเข้าใจบุคลิกที่แตกต่างผ่านจุดแข็ง
หลายๆ ครั้งเรามักเผลอหงุดหงิด หรือไม่ชอบคนที่มีบุคลิกที่แตกต่างกับเรามาก ซึ่งส่วนมากเกิดจากเราคิดว่าเราเป็นแบบนี้ คนอื่นก็น่าจะคิด ทำ หรือรู้สึกเหมือนเรา วันนี้ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องบุคลิกที่แตกต่างผ่านจุดแข็ง เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของกันและกัน และยอมรับในความแตกต่างนี้กันค่ะ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เลย คือ การตระหนักรู้ในตนเอง บริหารตนเอง และการเข้าใจผู้อื่นค่ะ
บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในแต่ละบุคคล ทำให้บุคคลนั้นมีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งแท้จริงแล้วคนเราแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) หรือไม่มีใครเหมือนใครเลย แต่วันนี้ก้อยจะแบ่งปันเรื่องบุคลิกภาพตามจุดแข็งของแต่ละคนค่ะ
บุคลิกภาพที่แบ่งตามจุดแข็ง หรือพรสวรรค์ (Talents) นั้น มีที่มาจากการวิจัยโดย ผ.ศ.ดร.วนิดา พลเดช ซึ่งก้อยเองก็ได้เรียนกับท่าน และได้เรียนเรื่องบุคลิกภาพจากกูรูท่านอื่นๆ ด้วย (เช่น สัตว์ 4 ทิศ, ธาตุ 4 และ Enneagram เป็นต้น) สำหรับรอบนี้จะแบ่งปัน เรื่องการแบ่งบุคลิกตามจุดแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองชอบ เพราะเข้าใจและปรับใช้ได้ง่ายค่ะ
การแบ่งบุคลิกภาพตามจุดแข็ง แบ่งคนเป็น 4 ลักษณะ (ตามภาพประกอบด้านล่าง) คือ
A นักคิด (Strategic) เป็นคนที่เน้นสร้างการเปลี่ยนแปลง ชอบแสวงหาความรู้ ชอบคิดต่อยอด ชอบในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เป็นคนคิดเก่ง คิดเยอะ คิดถึงอนาคตแบบภาพใหญ่ หรือมีวิสัยทัศน์ มักเป็นคนที่คิดอะไรแตกต่างจากผู้อื่น หรือมีความคิดล้ำหน้า และชอบเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมต่างๆ จุดอ่อน คือ คนอื่นตามความคิดไม่ทัน และคิดเก่ง สนุกกับการคิด ทำให้ลงมือทำน้อย หรือช้า
B นักทำ (Systematic) เป็นคนที่เน้นการลงมือทำแบบทำให้ถูกต้อง เป็นระบบ ชอบวางแผน และทำตามแผน มีขั้นตอนในการลงมือทำสิ่งต่างๆ มีความละเอียด รอบคอบ ชอบแบ่งงานและติดตามงาน มีความรับผิดชอบสูง จุดอ่อน คือ ช้า และขาดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง
C นักบุญ (Humanize) เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น อ่านความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นได้ดี ใส่ใจผู้อื่น คิดก่อนพูด ไม่พูดจาทำร้ายคนอื่น เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ และมองโลกในแง่ดี จุดอ่อน คือ ตัดสินใจยาก เพราะคำนึงถึงผู้อื่นมากเกินไป และไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น
D นักลุย (Tactic) เป็นคนที่เน้นการทำทันที พุ่งไปที่เป้าหมาย เน้นความรวดเร็วและให้ได้ผลลัพธ์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง มีไหวพริบ ตัดสินใจรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง ชอบความตื่นเต้น ท้าทาย จุดอ่อน คือ ขาดความละเอียด รอบคอบ และไม่ค่อยรับฟัง เพราะตัดสินใจเอง
โดยปกติแล้วคนเราจะมีจุดแข็งที่โดดเด่นมากแบบนึง ลองสังเกตดูนะคะว่าน่าจะมีจุดแข็งแบบไหน และลองนึกถึงตอนเด็กว่าเราเป็นแบบไหน เช่น ตอนเด็ก เราเป็นเด็กที่จัดกระเป๋าตามตารางสอน ทำการบ้านมาล่วงหน้า (B นักทำ) หรือเราไปทำการบ้านหรือไปหาลอกเช้าวันส่ง (D นักลุย) หรือเราเป็นเด็กใจดี อารมณ์ดี ชอบเอาขนมไปแบ่งปันเพื่อน นึกถึงเพื่อนๆ เสมอ (C นักบุญ) หรือเราเป็นเด็กที่มีความคิดล้ำ อยากสร้าง หรือประดิษฐ์นู่นนี่นั่นตั้งแต่เด็ก (A นักคิด) ลองสังเกตตัวเองดูนะคะ พอเราโตขึ้น จากการเลี้ยงดู และประสบการณ์ทำงาน เราอาจมีการปรับเปลี่ยนบ้างให้มีลักษณะอื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่จุดแข็งก็คือจุดแข็งค่ะ เป็นสิ่งที่ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องพยายาม และเราทำสิ่งนั้นได้ดีค่ะ
สิ่งสำคัญ คือ การรู้จุดแข็งนี้ เพื่อเข้าใจตนเอง เข้าใจว่าผู้อื่นไม่เหมือนเราก็ได้นะ โลกนี้จึงมีผู้คนที่หลากหลาย โลกถึงสวยงามและน่าอยู่ค่ะ ^^
อ่านแล้ว พอทายได้ไหมนะ ว่าเราน่าจะมีจุดแข็งแบบไหนนะ และถ้าอยู่กับผู้อื่น เราต้องระมัดระวังอะไรนะ ถึงจะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีสันติสุข มีความฉลาดทางอารมณ์ เป็นคนน่าเข้าใกล้ พูดคุยด้วยแล้วรู้สึกมีพลังค่ะ
ด้วยรักและปรารถนาดีค่ะ
ขอให้เป็นวันดีๆ ของผู้อ่านนะคะ
อ.ก้อย
หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance coach and trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462
-
ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence; EQ) เรามักได้ยินคนพูดถึงความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) อยู่บ่อยๆ ความฉลาดทางอารมณ์ก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ผู้นำควรมี และส่งผลต...
-
การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) สำคัญอย่างไร ในแต่ละวัน เรามักเจอเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งเหตุการณ์ที่ดีหรือเป็นไปตามที่เราคิด และเหตุการณ์ที่ไม่ดีหรือไม่เป็นไปตามที่เราคิด แล...
-
การบริหารจัดการตนเอง (Self-management)คืออะไร และเทคนิคในการพัฒนา ในด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เริ่มต้นด้วยการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) ก่อน เมื่อรู้เท...
-
การตระหนักรู้ตนเองและผู้อื่น-ด้านความรู้สึกและความต้องการ ในการตระหนักรู้ตนเอง จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของเรา เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการตัวเองไ...
-
เทคนิคการควบคุมอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ก็เป็นหนึ่งในมิติที่สำคัญของการบริหารตนเอง ซึ่งส่งผลทั้งต่อผู้อื่นและตนเองค่ะ หากเราควบคุมอารมณ์ของเราได้ดีจะช่วยให้มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ท...