กระบวนการบริหารจัดการตนเอง เพื่อนำตนเอง (Self-leading)
กระบวนการการบริหารจัดการตนเอง เพื่อนำตนเอง (Self-leading)
ในยุค Digital Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา รวมถึงผู้อื่นสามารถติดต่อเราได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้อย่างต่อเนื่อง และสภาวะอารมณ์แกว่งขึ้นลง (โกรธ โมโห ซึมเศร้า) มากกว่าในยุคก่อนๆ ทักษะการบริหารจัดการตนเองเพื่อนำตนเองจึงเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานและเป้าหมายในชีวิต
ทักษะการบริหารจัดการตนเองคืออะไร
ทักษะการบริหารจัดการตนเอง คือ ความสามารถในการควบคุมสภาวะอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง เพื่อนำตนเอง (Self-leading) ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ แม้จะเจอปัญหา/อุปสรรค
การบริหารจัดการตัวเองมีกระบวนการอย่างไร
กระบวนการบริหารจัดการตนเอง มี 4 ขั้นตอน (4A) คือ
1. Aware เข้าใจและตระหนักรู้ในตนเอง (ทั้งด้านความรู้สึกและความคิด)
การตระหนักรู้ในตนเอง พัฒนาได้จากการฝึกสติและการหมั่นกลับมาถามตนเองว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไรเพราะต้องการอะไร หรือมีความคิดอย่างไร และอยากเปลี่ยนแปลงตนเองในเรื่องใด เช่น ตระหนักรู้ต่อตนเองว่าทำงานไม่ทัน บริหารจัดการเวลาได้ไม่ดี เพราะไม่กล้าปฏิเสธผู้อื่นเวลาผู้อื่นขอความช่วยเหลือ และรู้สึกไม่ชอบ รู้สึกผิดต่อตนเองเพราะทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้
2. Accept ยอมรับความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ยอมรับความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่ามันของชั่วคราว และมาจากเจตนาที่ดี หรือหากไม่สามารถยอมรับได้ ไม่ชอบตัวเองที่เป็นแบบนั้น (ตามที่ตระหนักรู้ในข้อ 1) ก็ยอมรับว่ายอมรับไม่ได้ เช่น ยอมรับว่าที่เรารู้สึกผิดต่อตนเอง เพราะมีความตั้งใจอยากทำงานให้ทัน และยอมรับว่าที่ไม่ปฏิเสธผู้อื่นเพราะอยากช่วยเหลือ หรือกลัวเขาลำบาก เป็นต้น
3. Aim การมีเป้าหมายว่าเราอยากเป็นอย่างไร
เป้าหมายมีทั้งเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายย่อย เป้าหมายใหญ่คือเป้าหมายในชีวิต หากเป็นเป้าหมายที่มี Passion และ Motivation คือ เป้าหมายที่อยากทำและให้พลัง ส่งผลดีต่อตนเอง ทีมงาน องค์กร และครอบครัว ให้เราได้พัฒนาตนเอง เติบโตขึ้น และส่งมอบคุณค่าแก่ผู้คน/สังคมจะช่วยให้เราอยากทำสิ่งนั้น เช่น เป็นหัวหน้าบริษัทผลิตรถยนต์ มีเป้าหมายที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกน้องเติบโตขึ้น และเพิ่มศักยภาพทีมและองค์กรให้สามารถผลิตรถยนต์ที่มีความปลอดภัยและฟังก์ชันรถยนต์น่าใช้ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของเจ้าของรถและครอบครัว
เป้าหมายย่อย คือ เป้าหมายที่มาจากการตระหนักรู้ในตนเองในข้อ 1 และเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายใหญ่ เช่น เป้าหมายย่อยคืออยากบริหารจัดการเวลาได้ดีขึ้น และรู้สึกดีต่อตนเอง
4. Action การลงมือทำ
ลงมือทำ ทั้งด้านการควบคุมอารมณ์เชิงลบ และการปรับพฤติกรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองและนำไปสู่เป้าหมายย่อยที่ต้องการ เช่น การกล้าสื่อสาร/ปฏิเสธโดยไม่ทำให้คนฟังรู้สึกไม่ดี การจัดสำดับความสำคัญของงานตาม Eisenhower Box (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ) การกำหนดช่วงเวลาปลอดสิ่งรบกวน เพื่อสร้างสภาวะ Flow (ลื่นไหลในการทำงาน) การฝึกสติเพื่อรับรู้อารมณ์ตัวเองอย่างที่เป็น จะช่วยลดความรุนแรงของอารมณ์ การหยุดการตำหนิตัวเอง และการฝึกควบคุมอารมณ์ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การควบคุมอารมณ์) เป็นต้น
ชวนให้ลองกลับมาสังเกตชีวิตตัวเองเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างการตระหนักรู้ (Aware) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อบริหารจัดการตนเอง และลองทำตามขั้นตอน 4A ดูนะคะ
ทำแล้วเป็นอย่างไร แชร์กันมาได้นะคะ หรือมีคำถามเพิ่มเติมก็ถามได้นะคะ
ขอให้ทุกท่านสนุกและมีความสุขกับการทำงานและการใช้ชีวิตค่ะ
ด้วยรักและปรารถนาดี
อ.ก้อย
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance Coach and Trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462
-
ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence; EQ) เรามักได้ยินคนพูดถึงความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) อยู่บ่อยๆ ความฉลาดทางอารมณ์ก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ผู้นำควรมี และส่งผลต...
-
การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) สำคัญอย่างไร ในแต่ละวัน เรามักเจอเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งเหตุการณ์ที่ดีหรือเป็นไปตามที่เราคิด และเหตุการณ์ที่ไม่ดีหรือไม่เป็นไปตามที่เราคิด แล...
-
การตระหนักรู้ในตนเอง และผู้อื่น ด้วยการเข้าใจบุคลิกที่แตกต่างผ่านจุดแข็ง หลายๆ ครั้งเรามักเผลอหงุดหงิด หรือไม่ชอบคนที่มีบุคลิกที่แตกต่างกับเรามาก ซึ่งส่วนมากเกิดจากเราคิดว่าเราเ...
-
การตระหนักรู้ตนเองและผู้อื่น-ด้านความรู้สึกและความต้องการ ในการตระหนักรู้ตนเอง จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของเรา เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการตัวเองไ...
-
การบริหารจัดการตนเอง (Self-management)คืออะไร และเทคนิคในการพัฒนา ในด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เริ่มต้นด้วยการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) ก่อน เมื่อรู้เท...
-
เทคนิคการควบคุมอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ก็เป็นหนึ่งในมิติที่สำคัญของการบริหารตนเอง ซึ่งส่งผลทั้งต่อผู้อื่นและตนเองค่ะ หากเราควบคุมอารมณ์ของเราได้ดีจะช่วยให้มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ท...