การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์การสอนในคลาส และได้ติดตามการนำไปใช้ของผู้เข้าอบรมค่ะ ก่อนอื่นขอแบ่งปันก่อนว่าการฟังอย่างเข้าใจคืออะไรนะคะ
การฟังอย่างเข้าใจ หรือการฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ (Empathic Listening) คือ การฟังบนพื้นฐานของหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน และมีความงดงาม / ความเก่งในตัวที่ไม่เหมือนกัน ไม่แบ่งแยก ไม่เปรียบเทียบ ฟังด้วยหัวใจที่อยากเข้าใจคนตรงหน้า (คนพูด) เคารพมุมมองและความคิด ความรู้สึกของคนตรงหน้า
ประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจมีอะไรบ้าง
- ในห้องอบรม การสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าอบรมฝึกที่จะฟังกันและกัน ช่วยให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน และผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เกิดบรรยากาศในการอบรมแบบ Active Learning ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งการแชร์ และการถาม ไม่ใช่วิทยากรพูดคนเดียวค่ะ
- ในการทำงาน
- หัวหน้ากับลูกน้อง เมื่อหัวหน้ามีการรับฟังมากขึ้น ทั้งด้านความเป็นอยู่ ทุกข์สุขของลูกน้อง และด้านงาน เปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็น หรือฟังมุมมองของลูกน้องจริงๆ ทำให้ลูกน้องกล้าพูด กล้าเสนอไอเดีย และกล้าบอกเล่าปัญหา รวมถึงเสนอแนวทางใหม่ๆ ทำให้เกิดบรรยากาศของการทำงานที่ทุกคนกระตือรือร้น สนุกกับการเสนอไอเดีย และการทำสิ่งใหม่ๆ ไม่กลัวการทำพลาด และมีความสุขในการทำงาน แม้งานจะยังยากและเยอะเหมือนเดิม แต่สนุกและมีความสุขในการทำงาน ทำให้เหนื่อยแค่กาย ไม่เหนื่อยใจค่ะ นอกจากนี้เมื่อหัวหน้าฟังมากขึ้น ก็เริ่มเข้าใจลูกน้อง และมอบหมายงานให้เหมาะกับความถนัดของลูกน้องแต่ละคน ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทั้งหัวหน้าและลูกน้องต่างก็มีความสุขจากการทำงานค่ะ
- ระหว่างเพื่อนในทีม หรือกับเพื่อนต่างแผนก จากการได้รับฟังกันและกันในคลาส ทำให้เข้าใจความยากลำบาก หรือข้อจำกัดในการทำงานของแต่ละคน เกิดความเห็นอกเห็นใจกันและกัน และสื่อสารอย่างเห็นใจผู้อื่น ไม่ได้มองแค่ตนเองฝ่ายเดียว และท้ายที่สุด ทุกคนมองไปที่เป้าหมายองค์กร และช่วยกันทำงานเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่มองแค่บรรลุ KPI ของตนเองเท่านั้น เกิดความเป็นทีมค่ะ เป็นทีมเวิร์คอย่างแท้จริง ทีมที่เวิร์คจากใจ ไม่ใช่จากสมอง หรือบทบาทหน้าที่ค่ะ
- ในการประชุม หากเราสร้างบรรยากาศในการทำงานที่มีการฟังกันและกัน และเคารพมุมมอง หรือไอเดียที่แตกต่างของผู้อื่นจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร จะทำให้ในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมกล้าแสดงมุมมอง หรือความเห็นที่ต่างอย่างให้เกียรติผู้นำเสนอ หรือผู้นำการประชุม เพื่อให้ได้งานที่ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งเงียบ ไม่เสนอความคิดเห็น หรือไม่ถามแม้ไม่เข้าใจ เพราะกลัวการถูกตัดสินว่าไม่ฉลาด ไม่เก่ง พูดไม่รู้เรื่อง หรือกลัวคนไม่เห็นด้วย เป็นต้นค่ะ
- ในครอบครัว เมื่อพ่อแม่ฟังลูกๆ มากขึ้น ทำให้ลูกๆ เปิดใจที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆ ของตนเอง และพร้อมที่จะรับฟังจากพ่อแม่มากขึ้น พ่อแม่เปรียบเสมือนเพื่อนวัยเดียวกัน ที่พูดคุยกัน ไม่ใช่การแสดงอำนาจว่าลูกต้องเชื่อฟัง ต้องทำแบบพ่อแม่ คิดแบบพ่อแม่เท่านั้น แต่พ่อแม่ก็ร่วมเรียนรู้มุมมอง หรือความคิดของลูกด้วยเช่นกันค่ะ ทำให้บรรยากาศในครอบครัวอบอุ่น เข้าใจกันและกันค่ะ
- Heart (หัวใจ) เปิดใจที่จะเรียนรู้ รู้จักคนตรงหน้า รับรู้เขาอย่างที่เขาเป็น อนุญาตให้เขาไม่ต้องเหมือนเราได้ ไม่ต้องคิดเหมือนเรา เชื่อเหมือนเรา และส่งความรัก และความปรารถนาดีให้คนตรงหน้า
- Head (สมอง) เท่าทันความคิดของเรา บ่อยครั้งที่เรามักเผลอตัดสินคนอื่น (เช่น อุ๊ยจริงเหรอ คิดแบบนั้นได้ไง เป็นต้น) หรือไปคิดเรื่องอื่นๆ ไม่ได้อยู่กับคนพูด หรือคนตรงหน้า พอเรารู้ตัวตอนไหนก็กลับมาฟังต่อค่ะ
- Hand (มือ เอ้ยมากกว่ามือค่ะ ในที่นี้หมายถึง ภาษากาย หรือท่าทาง) ภาษากายที่เป็นมิตร ใส่ใจ เช่น สบตา ไม่ทำอย่างอื่นไปด้วย ไม่ถาม ไม่สอน ไม่พูดแทรก ให้คนตรงหน้าพูดจนจบก่อน ให้ไวในการฟัง และช้าในการพูด
- Mindful (สติ) สติ คือ การรู้เท่าทันตัวเอง ซึ่งเป็นแก่นสำคัญของการฟังอย่างเข้าใจเลยค่ะ เช่น รู้ว่าตอนนี้คิดเรื่องอื่นอยู่ ไม่ได้ฟัง รู้ตัวตอนไหนก็กลับมาตั้งใจฟังต่อ รู้ตัวว่าอยากพูด อยากถาม แต่ก็เบรคตัวเอง ไม่ให้ไปพูดแทรกเขา รู้ตัวว่าฟังแล้วไม่เห็นด้วย ก็กลับมาตั้งใจฟังเพื่อเข้าใจเขาต่อค่ะ
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance coach and trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...
-
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...
-
ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...
-
6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...
-
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...
-
อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...
-
ทักษะการสื่อสารเชิงบวก(Positive Communication) การสื่อสารเป็นทักษะที่เราใช้ตลอดเวลาเลยค่ะ ไม่ว่าจะในการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว การสื่อสารจะมี 2 ด้านที่สำคัญ คือ การฟัง และการพูด ก...
-
การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...