เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล
เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport)
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่สนทนา ก็ช่วยให้เขารู้สึกอยากคุยด้วย อุ่นใจ ประทับใจ อยากบอกเล่าเรื่องราวของตนให้เราฟัง ในการทำงาน ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยให้ยินดี/เต็มใจที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูล ระหว่างกัน รวมถึงรับฟังความคิดเห็น ไอเดียต่างๆ เพิ่มขึ้น ในด้านงานขาย หากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ลูกค้ารู้สึกประทับใจหรือชอบ โอกาสที่จะโน้มน้าวแล้วปิดการขายก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งกับคนที่เพิ่งรู้จัก หรือคนที่รู้จักกันแล้วแต่อยากทำให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้น
วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
- เรียกชื่อคู่สนทนา คนเราล้วนต้องการเป็นที่ยอมรับและจดจำได้ ดังนั้นการจำชื่อได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
- ยิ้ม รอยยิ้มจากใจช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นมิตรและน่าเข้าหา ถ้าคุณเป็นคนยิ้มยาก ให้ฝึกยิ้มบ่อยๆ เช่น ยิ้มให้กับตัวเองในกระจก ฝึกทักทายและยิ้มให้กับคนที่เจอในชีวิตประจำวัน
- สบตาระหว่างที่ฟังและพูด การสบตาคู่สนทนาช่วยให้เขารู้สึกว่าเราใส่ใจ และตั้งใจฟังเขาอยู่
- เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจ ไม่พูดแทรก มีการพยักหน้าหากเห็นด้วยเป็นระยะๆ มีการทวนคำสำคัญๆ หากมีคำถาม ให้ถามหลังจากที่คู่สนทนาเล่าจบแล้ว ไม่พูดแทรก/ขัดจังหวะขณะที่คู่สนทนาพูดอยู่
- ท่านั่งที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งเอนลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย (เข้าหาคู่สนทนา) ไม่กอดอก เป็นต้น
- คุยในเรื่องที่มีความคล้ายกัน คนเรามักชอบคนที่มีความเหมือนกันเรา เช่น จบจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นพี่คนโตเหมือนกัน ชอบกีฬาชนิดเดียวกัน เป็นต้น
- ใช้ภาษาที่คล้ายๆ กัน เช่น พูดคุยแบบกันเอง ใช้ศัพท์เทคนิค เป็นต้น
- จริงใจ และจากใจ ข้อนี้สำคัญมาก คือ การทำในแบบที่เป็นคุณ ออกมาจากใจ ไม่แสร้งทำ
ในช่วงแรกของการสนทนา คู่สนทนาจะยังไม่เปิดใจ หรือยังไม่ไว้ใจมากนัก หลังจากที่เราสร้างความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคดังกล่าว พอทำไปสักระยะหนึ่งให้สังเกตภาษากายของคู่สนทนา หากเขามีภาษากายตามรายละเอียดข้างล่าง แสดงว่ามีสัญญาณว่าคู่สนทนาเปิดใจรับ ไว้ใจ วางใจ ในมิตรภาพที่เกิดขึ้น ก็สามารถนำเสนอไอเดีย ข้อคิดเห็น ขอความช่วยเหลือ หรือนำเสนอสินค้าได้
ภาษากายที่บ่งบอกว่าคู่สนทนารู้สึกดีกับเราแล้ว
- ยิ้มตอบและสบตาเป็นระยะๆ
- ถามคำถาม
- พยักหน้าเห็นด้วย
- เอนลำตัวมาข้างหน้า
- น้ำเสียงนุ่มนวลขึ้น
- ภาษากายที่เปิด เช่น เริ่มต้นอาจเป็นท่ากอดอก พอคุยไปสักระยะแล้วเขาเอาแขนที่กอดอกออก
อ.ก้อย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านนำไปใช้แล้วพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดียิ่งขึ้นค่ะ
หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง: หลักสูตรการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)
โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(Performance coach and trainer)
E-mail: tunyaponj@gmail.com
line ID: koytunyapon
Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...
-
การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...
-
ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...
-
6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...
-
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...
-
อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...
-
ทักษะการสื่อสารเชิงบวก(Positive Communication) การสื่อสารเป็นทักษะที่เราใช้ตลอดเวลาเลยค่ะ ไม่ว่าจะในการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว การสื่อสารจะมี 2 ด้านที่สำคัญ คือ การฟัง และการพูด ก...
-
การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...
-
การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...