ทักษะการสื่อสารเชิงบวก (Positive Communication)

ทักษะการสื่อสารเชิงบวก (Positive Communication)

 

     การสื่อสารเป็นทักษะที่เราใช้ตลอดเวลาเลยค่ะ ไม่ว่าจะในการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว การสื่อสารจะมี 2 ด้านที่สำคัญ คือ การฟัง และการพูด ก่อนหน้านี้เคยแบ่งปันเรื่องการฟังในบทความการฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) วันนี้ อ.ก้อย จะมาแบ่งปันเรื่องการพูดบ้างนะคะ การพูดเชิงบวก หรือที่เรียกว่าการสื่อสารเชิงบวกค่ะ 

 

การสื่อสารเชิงบวกสำคัญอย่างไร 

     บ่อยครั้งที่การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ คนฟัง (ผู้รับสาร) ไม่แสดงความคิดเห็นหรือไม่มีส่วนร่วม ไม่พูด ไม่ถามแม้ไม่เข้าใจ ไม่กล้าปรึกษา แม้มีปัญหาในการทำงาน หรือทำงานแบบไม่มีแรงบันดาลใจห่อเหี่ยว ส่งผลให้งานช้า ซึ่งเกิดจากการรับฟังการสื่อสารที่ไม่ใช่เชิงบวก เช่น การสื่อสารบนการตัดสินตีความ หรือมีอคติ หรือสื่อสารด้วยอารมณ์ เป็นต้น

     ในทางตรงข้าม หากเราสื่อสารเชิงบวก จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกดี มีพลัง พร้อมเปลี่ยนแปลงตนเอง เรียนรู้ เติบโตไปข้างหน้า กล้าถาม กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และพร้อมเลือกทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น 

 

การสื่อสารเชิงบวกคืออะไร 

     การสื่อสารเชิงบวก คือ การสื่อสารด้วยคำพูดหรือข้อความ โดยมีเจตนาให้ผู้ฟัง (ผู้รับสาร) เกิดความรู้สึกเชิงบวก อยากทำตามสิ่งที่บอก หรืออยากเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยแนวคิด และการกระทำใหม่ๆ ด้วยความรู้สึกที่ดี

 

การสื่อสารเชิงบวกเริ่มต้นได้อย่างไร

     อ.ก้อย ขอแบ่งปันการสื่อสารเชิงบวกด้วย A to E model ค่ะ   

  • A Accept & Appreciate (ยอมรับและชื่นชม) ยอมรับว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงตัวเราก็เช่นกันค่ะ และเลือกมองในด้านดีของคนที่เราคุยด้วย และฝึกชื่นชมคุณลักษณะที่ดีของผู้อื่นโดยการพูดให้ผู้ที่เราชื่นชมได้ยิน เช่น “ชื่นชมในความรับผิดชอบ” “ชื่นชมในความใส่ใจ” “ชื่นชมในความเสียสละ” เป็นต้น

 

  • B Both (ทั้งคู่ หรือสื่อสาร 2 ทาง) สื่อสารโดยให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้เขาแบ่งปัน หรือถามเพื่อให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เช่น ฟังแล้วมีความเห็น/คิดอย่างไร และสังเกตภาษากายของคู่สนทนา เพราะเขาสื่อสารด้วยภาษากายตลอดเวลาที่ฟังเรา เช่น พยักหน้า คิ้วขมวด เป็นต้น

 

  • C Clear Communication (สื่อสารชัดเจน) มีการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น ให้ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร การสังเกตภาษากายของคู่สนทนาจะช่วยให้เข้าใจว่าเขาเข้าใจหรือไม่ หากเขาคิ้วขมวด ไม่เข้าใจ เราจะได้อธิบายเพิ่มเติม ตัวอย่างการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น “น้อง A ทำรายงานการประชุมวันนี้ ส่งพี่ภายในวันศุกร์นี้นะ” มันคงไม่ OK สำหรับ A หากเราบอกแค่ให้ทำรายงานการประชุม ไม่บอก deadline แล้วมาเร่งให้ A ส่งตอนที่เราต้องการ
 
  • D Do (พฤติกรรมหรือการกระทำ) บอกพฤติกรรมหรือการกระทำที่เราต้องการให้คนฟังทำ ไม่ใช่บอกแต่สิ่งที่ไม่ต้องการ 

     ตัวอย่าง “ทำผิดกี่ครั้งแล้วเนี่ยะ พี่บอกหลายรอบแล้วนะ” 

     เปลี่ยนเป็น “พี่อยากให้น้องช่วยแก้เอกสารนี้ให้ถูกต้อง ตามตัวอย่างในเอกสารนี้ (หรืออาจชี้ให้เห็นว่าให้แก้ตรงจุดไหน)”

 

  • E Empathy & Empower (เห็นอกเห็นใจและให้พลัง) มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่ตัดสินและตำหนิผู้อื่น ไม่มีใครอยากทำผิดพลาด ฝึกที่จะเข้าใจ และสื่อสารอย่างให้พลัง เช่น “งานที่ทำติดปัญหาอะไรไหม อยากให้พี่ช่วยสนับสนุนในด้านไหนไหม” (แสดงความเห็นอกเห็นใจ) “พี่เชื่อว่าน้องมีความสามารถ สามารถเรียนรู้ และเก่งขึ้นจากการทำงานนี้นะ” (พูดให้พลัง) และการชื่นชมใน A Accept & Appreciate ก็เป็นการให้พลังเช่นกันค่ะ
 
     หากเราสื่อสารด้วย A to E model ความสัมพันธ์ระหว่างเราและผู้อื่นจะดีขึ้น คนที่เราสื่อสารด้วยจะมีพลังบวกมากขึ้น สร้างสรรค์ในงานและชีวิตได้ดีขึ้น ทุกคนรอบตัวเราจะเติบโตไปด้วยกันพร้อมกับบรรยากาศในการทำงานที่น่าอยู่ค่ะ มันจะดีแค่ไหนนะ ถ้าเราและคนรอบตัวไม่เกลียดวันจันทร์ และรักวันศุกร์ ทุกวันน่าอยู่ และสนุกกับการทำงาน
    อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อยากบอกว่า การสื่อสารเป็นทักษะ แปลว่ายิ่งฝึกฝน ยิ่งเก่งขึ้น ยิ่งทำได้ดีขึ้นค่ะ ชวนให้เริ่มต้นทำดูนะคะ สัปดาห์ละ 1 ข้อใน A to E model ก็ได้ค่ะ แล้วจะพบกับโลกรอบตัวเราที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ 
     เป็นกำลังใจให้กับการเรียนรู้ และเติบโต เป็นเราที่ดีขึ้นในทุกๆ วันค่ะ
 
     ด้วยรักและปรารถนาดี
     อ.ก้อย
 
หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง: หลักสูตรการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance coach and trainer)

 

E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)


  • เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
    เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Building Rapport) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีสำคัญอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากเรารู้สึกดีกับใครแล้ว เราย่อมอยากช่วยเหลือหรือสนับสนุนเขา เช่นกันกับการที่...

  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Communication) ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดข...

  • การฟังอย่างเข้าใจและประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ
    การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening) และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ บทความนี้ ก้อยจะมาแบ่งปันเรื่องของการฟังอย่างเข้าใจอย่างง่ายๆ และประโยชน์ของการฟังอย่างเข้าใจ จากประสบการณ์ก...

  • ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง
    ระดับของการฟัง และประโยชน์ของการฟัง ในชีวิตประจำวันของเรา เราเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แล้วเราเป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับระดับของการฟังอย่างง่ายๆ กันค่...

  • การฟังอย่างลึกซึ้ง
    6 เทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร หากเราฟังได้อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดอยากจะสื่ออย่างแท้จริง และทำให้ความสัมพ...

  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ WFH
    เทคนิคการสื่อสารเพื่อการทำงานแบบ Work From Home (WFH)ในช่วงที่ลดการทำงานที่ออฟฟิศ แล้วทำงานที่บ้าน หรือ work from home (WFH) มากขึ้น การสื่อสารระหว่างทีมงานเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพ...

  • อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ
    อุปสรรคในการสื่อสาร การตัดสินตีความ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ หากเราสื่อสารกันอย่างเข้าใจ ทั้งเข้าใจในสารที่สื่อและเข้าใจในตัวบุคคลที่เราสื่อสารด้วย แล้วอะไรบ้างที่...

  • เทคนิคการชมลูกน้อง
    การชมลูกน้อง ในการทำงาน หัวหน้าที่เก่งจะสามารถพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการสื่อสาร 2 แบบค่ะ คือ การชม เมื่อลูกน้องทำในสิ่งที่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ดี เช่น ลูกน้องเสนอวิธ...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR model
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ด้วย STAR Model โดย ภญ.ธันยพร จารุไพศาล ช่วงที่ผ่านมา คำถามที่หัวหน้างานถามบ่อยเวลาที่ไปสอนหลักสูตรการสื่อสาร คือ “จะให้ฟีดแบคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้รับฟีด...

  • การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์แบบโค้ช
    การให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จะมาแบ่งปันเรื่องการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ให้ฟีดแบคอย่างไรเป็นการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์ ที่คนรับฟีดแบคไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ และเขาอยากพัฒนา...
Visitors: 79,458