หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS Model โดย ภญ. ธันยพร จารุไพศาล

หัวหน้างานกับการบริหารทีมงานด้วย TAPS Model

 

     หัวหน้างานนอกจากมีหน้าที่ทำงานส่วนของตนเองแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารทีมงานให้งานของทีมสำเร็จลุล่วงด้วยดี ในการบริหารทีมงาน หัวหน้างานมีหลายๆ บทบาท วันนี้ อ.ก้อย จะมาแบ่งปันบทบาทของหัวหน้างานตาม TAPS model ค่ะ

 

TAPS Model 

T ย่อมาจาก Tell (บอก)

A ย่อมาจาก Ask (ถาม)

P ย่อมาจาก Problem (ปัญหา)

S ย่อมาจาก Solution (ทางออกของปัญหา/แนวทาง)

   

จาก TAPS model จะแบ่งบทบาทหัวหน้าเป็น 5 บทบาทหลัก

 

1. ครู หรือผู้สอนงาน จะโฟกัสไปที่บอกทางออกของปัญหาหรือแนวทาง เหมาะสำหรับหัวหน้าที่มีลูกน้องที่เข้างานใหม่ (น้องใหม่) ขาด (หรือมีน้อย) ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในงานนั้นๆ หรืออาจเป็นลูกน้องเก่า แต่ให้มาทำงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน หัวหน้าก็จะมีบทบาทเสมือนครูที่สอนงาน เพื่อให้ลูกน้องเข้าใจในเนื้องานและกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง (On the Job Training; OJT)


2. พี่เลี้ยง จะยังเป็นการบอกแนวทาง หลังจากที่เป็นครูสอนงานน้องใหม่จนน้องใหม่เริ่มทำงานเองได้แล้ว หัวหน้ายังมีบทบาทพี่เลี้ยง คอยติดตามและบอกแนวทางหรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้น้องใหม่ทำงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


3. โค้ช จะเน้นไปที่การถามที่ทางออก/แนวทาง เหมาะสำหรับลูกน้องที่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ หัวหน้าจะใช้การถามเพื่อให้ลูกน้องมีทักษะในการคิดหาทางออกด้วยตนเอง เพื่อให้ลูกน้องมีศักยภาพมากขึ้น หรือมีแนวทาง/ไอเดียใหม่ๆ ที่เหมาะกับตนเอง (อ่านเพิ่มเติม การโค้ช คือ อะไร และสำคัญกับหัวหน้างานอย่างไร)


4. ที่ปรึกษา จะเน้นไปที่การถามที่มาของปัญหา เพื่อเข้าใจปัญหา หัวหน้าสามารถใช้บทบาทของที่ปรึกษาเพื่อระดมสมองหาสาเหตุของปัญหา เพื่อวิเคราะห์ปัญหา แล้วจึงค่อยให้คำแนะนำที่เหมาะสม


5. ผู้สั่งการ จะเน้นไปที่การบอกสาเหตุของปัญหา เพื่อให้เกิดการแก้ไข ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นและมีความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา หรือทีมงานขาดทักษะและประสบการณ์ บทบาทสั่งการก็เป็นอีกบทบาทที่สำคัญสำหรับหัวหน้างาน โดยบอกสาเหตุปัญหาให้ทีมงานเข้าใจและสามารถไปแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด


     หลังจากเข้าใจความหลากหลายของบทบาทหัวหน้าแล้ว ปัจจุบันท่านผู้อ่านได้ใช้บทบาทไหนบ้างคะ บทบาทไหนใช้มากสุด และบทบาทไหนใช้น้อยสุด  และคิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ของทีมและงานไหมคะ ถ้าเหมาะสมดีแล้ว ไม่ต้องปรับ ก็ยินดีด้วยนะคะ มาถูกทางแล้วค่ะ แต่ถ้ายังไม่เหมาะ ก้อยชวนคิดว่าบทบาทไหนที่ท่านต้องใช้มากขึ้น และจะเริ่มต้นง่ายๆ อย่างไรดีคะ


     หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจบทบาทของหัวหน้างาน และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตัวเองในฐานะของหัวหน้างานนะคะ ถ้าอยากให้แบ่งปันหัวข้อไหนเพิ่มหรือมีข้อสงสัย ก็สามารถส่งไลน์ หรือเขียนอีเมลมาบอกกันได้นะคะ

 

     ขอให้ทุกท่านเติบโอย่างมีความสุขค่ะ

     ด้วยรักและปรารถนาดี

 

     อ.ก้อย  

 

หลักสูตรในองค์กร (in-house training) ที่เกี่ยวข้อง ทักษะหัวหน้างาน

อาจารย์ เภสัชกรหญิง ธันยพร จารุไพศาล (อ.ก้อย)

โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(Performance coach and trainer)

E-mail: tunyaponj@gmail.com

line ID: koytunyapon

Tel: 082-415-1462 


  • การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วย PERMA model
    การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ในการทำงานชีวิตของเราคงมีทั้งสุขและทุกข์ปนกัน แล้วจะทำอย่างไรให้เรายังคงรักษาใจตนเองให้มีแรงบันดาล หรือ Passion ในการทำงาน วันนี้ ...

  • การโค้ชคืออะไร และการโค้ชสำคัญกับหัวหน้าอย่างไร
    การโค้ช คือ อะไร และสำคัญกับหัวหน้างานอย่างไร เราคงเคยได้ยินคำว่าโค้ชอยู่บ่อยครั้ง เช่น โค้ชนักกีฬา โค้ชการเงิน ไลฟ์โค้ช (โค้ชชีวิต) จริงๆ แล้วการโค้ชคืออะไร และสำคัญอย่างไร ...

  • การทำงานอย่างมืออาชีพ
    การทำงานอย่างมืออาชีพ ในการทำงาน คนส่วนใหญ่ก็อยากที่จะเก่งขึ้น และเป็นมืออาชีพในการทำงานกันมากขึ้น องค์กรเองก็ต้องการคนที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานมากขึ้นเช่นกันวันนี้ อ.ก้อยจะ...

  • 14 เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ.jpg
    เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากให้หัวหน้าประทับใจในผลงานและสนับสนุนท่าน หรือหากท่านอยากให้เพื่อนร่วมงานยอมรับในความสามารถและช่วยเหลือสนับสนุนท่าน หรือท่...

  • เทคนิคการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
    7 เทคนิค Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วง Work From Home หรือช่วงทำงานที่บ้าน เรามีเวลามากขึ้นจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง หากเราจัดสรรเวลาหรือสิ่งแวดล้อมได้ดีจะช่วยให้...

  • ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ
    ออกแบบชีวิตด้วยเป้าหมายเชิงบูรณาการ หากท่านรู้สึกว่าชีวิตมีหลายอย่างที่ต้องรับผิดชอบ ไม่รู้ว่าจะจัดสรรอย่างไรดี หรือรู้สึกว่ายังจัดสรรชีวิตได้ไม่ดี อยากให้เวลากับสุขภาพ ครอบครัว ...

  • สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
    สมรรถนะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ (Leadership competency) ในทุกองค์กร/หน่วยงานล้วนแล้วแต่มีผู้นำ ผู้นำโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ ผู้นำด้วยตำ แหน่ง กับผู้นำที่ไม่ได้มีตำแหน่ง แต่บุคคลนั...

  • คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่
    คุณสมบัติหัวหน้าที่ลูกน้องรักและทำงานให้เต็มที่เมื่อไม่นานมานี้ ก้อยได้ทบทวนชีวิตตนเองที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ เราเป็นลูกน้อง พอทำงานมาสักระยะก็ขึ้นเป็นหัวหน้า และทบทวนถึงห...

  • ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน
    ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน การที่คนเรามีพฤติกรรมแสดงออกที่ต่างกัน มีความสำเร็จในชีวิตที่ต่างกันล้วนมาจากทัศนคติที่ต่างกัน เช่น ถ้าเรามีทัศนคติว่าการได้ทำงานที่ไม่เคยทำ งานใหม่ๆ ค...

  • 5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success)
    5 หลักการพื้นฐานของความสำเร็จ (5 Principles of success) ในการที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องๆ หนึ่ง เรามักตั้งเป้าหมายที่เราอยากได้ แล้วลงมือทำ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้นๆ บางครั...

  • การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
    การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Time Management) เวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีคุณค่ามากที่สุด ในแต่ละวันเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แล้วเราจะบริหารเวลาให้มีประสิทธิภ...

  • การโค้ชคืออะไร และการโค้ชสำคัญกับหัวหน้าอย่างไร
    เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียดกรุณาใส่ข้อความ …

  • การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ
    การเริ่มต้นบริหารเวลาแบบง่ายๆ สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เป็นยุคที่เราเชื่อมต่อถึงผู้อื่นได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และแต่ละวันก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย จนดูเหมือนว่าเวลา 24 ชั่วโมงจะไม่พอสำหรับเ...
Visitors: 79,458